ประโยชน์และตัวอย่างของระบบงาน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  • ผู้บริหารสามารถเพิ่มขีดความสามารถด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
  • ผู้บริหารสามารถจัดสรรบุคคลให้เหมาะสมกับงาน
  • บุคลากรได้รับการพัฒนาตนเอง
  • บุคลากรทำงานได้เต็มศักยภาพ และมีความพอใจกับผลงานที่ได้รับ
  • บุคลากรได้รับการปรับปรุงคุณภาพชีวิต และสภาพการทำงานที่ดีขึ้น
  • องค์กรบรรลุเป้าหมายในการทำงาน และดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
  • องค์การมีโอกาสที่จะพัฒนาความร่วมมือและร่วมใจในการทำงาน
  • สังคมอยู่ได้อย่างสันติ
  • ประเทศชาติมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
ระบบงานย่อยของ HRIS เช่น 

  • ระบบงานวางแผนกาลังคน (Man Power Planning)
  • ระบบงานทะเบียนประวัติ (Central Database) 
  • ระบบการตรวจสอบเวลา (Time Attendance) 
  • ระบบงานด้านการคำนวณเงินเดือน (Payroll) 
  • ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Evaluation) 
  • ระบบงานพัฒนาและฝึกอบรมบุคลากร (Training and Development) 
  • ระบบงานสวัสดิการต่าง(Welfare) 
  • ระบบการสรรหาบุคลากร (Recruitment) 
กรณีตัวอย่างการดำเนินการ
ตารางที่ ๒.๗ ข้อมูลที่จัดเก็บในระบบ DPIS
๑. ข้อมูลพื้นฐาน
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    การดำรงตำแหน่ง
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    ข้อมูลทั่วไป
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    การศึกษา/ฝึกอบรม/ดูงาน
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    การขอรับพระราชทานเครื่องราชฯ
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    ผลงานสำคัญ
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    ข้อมูลทางวินัย
    http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    ประวัติการเคลื่อนไหว
๒. ข้อมูลเฉพาะผู้บริหาร
     http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    ความชำนาญงาน
     http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    สมรรถนะทางการบริหาร
     http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    รางวัลพิเศษ
     http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    บันทึกข้อตกลงการปฏิบัติงานกับผู้บังคับบัญชา
     http://www.ocsc.go.th/DPIS/bul_arrow.gif    การขึ้นบัญชีผู้บริหาร

๑.   กรณีสำนักงานแรงงานสากล (International Labor Office)
สำนักงานแรงงานสากล (ILO) ใช้เวลา ๒ ปีในการสร้างระบบสารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ (HRIS) โดยเมื่อตัดสินใจสร้าง ได้จัดตั้งชุดทำงานประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ทรัพยากรมนุษย์ ๒ คน และเจ้าหน้าที่เทคนิคด้านสารสนเทศ ๓ คน เพื่อพัฒนาโครงการ (Ranieri ๑๙๙๓ : ๑๕ชุดทำงานเริ่มด้วยการสอบถามผู้ที่คาดว่าจะเป็นผู้ใช้ระบบสารสนเทศนี้ทุกคน ได้แก่ เจ้าหน้าที่เงินเดือน และผู้กำหนดนโยบายทรัพยากรมนุษย์ในตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางและเสมียน เพื่อพิจารณาว่าระบบที่ใช้ปัจจุบันเป็นอย่างไรและต้องเพิ่มงานอะไร ซึ่งให้ข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดหลักเกณฑ์ของผู้ใช้ของซอฟท์แวร์ HRIS การตัดสินใจเกี่ยวกับซอฟท์แวร์ ขั้นแรกชุดทำงานต้องตัดสินใจว่าจะพัฒนาซอฟท์แวร์เอง ซื้อระบบใหม่ทั้งหมดจากผู้ขายซอฟท์แวร์ หรือใช้ซอฟท์แวร์ใหม่ที่กำลังพัฒนาสำหรับสหประชาชาติ (UN)  แม้การพัฒนาซอฟท์แวร์เองจะมั่นใจได้ว่าสามารถสนองตอบความต้องการเฉพาะของ ILO แต่ก็ใช้งบประมาณสูง และเมื่อเสร็จแล้ว การที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มเติมทำได้ยาก จึงตัดวิธีนี้ไป เหลือพิจารณาเพียงอีกสองทางเลือก
ILO ได้จัดทำรายการข้อกำหนดซอฟท์แวร์ มีพื้นฐานจากการสอบถามผู้ใช้เพื่อตรวจสอบซอฟท์แวร์ที่มีอยู่   จากนั้นส่งคำเสนอความต้องการ (RFP) ไปยังผู้ขาย ๑๓๐ รายทั่วโลก โดยได้รับคำตอบ ๖๐ ราย ชุดทำงานสัมภาษณ์ผู้ตอบรับแต่ละรายและจัดลำดับตามการสนองตอบต่อข้อกำหนดของ ILO จากนั้นสรุปผลและตัดรายชื่อเหลือ ๑๕ ซอฟท์แวร์ แล้วติดต่อผู้ขายซอฟท์แวร์ให้เสนอรายละเอียดเฉพาะทางเทคนิค ซึ่ง ILO มีพนักงานทั่วโลกต้องการรับเงินเดือนสกุลต่าง ๆ   รวมทั้งเงินค่าเช่าที่รวมอยู่ในการจ่ายเงินเดือนและการปรับจ่ายเงินปันผลย้อนหลังที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ   และจะยุ่งยากมากขึ้นเมื่ออัตราการแลกเปลี่ยนเงินเปลี่ยนแปลง ซึ่งซอฟท์แวร์จะต้องสามารถแก้ปัญหานี้ขององค์การ
ชุดทำงานได้ทำการประเมินอีกครั้งและลดรายชื่อผู้ขายลงเหลือ ๓ ราย ผู้ขายแต่ละรายจะมีเวลาหนึ่งอาทิตย์ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมของซอฟท์แวร์ มีการสอบถามผู้ใช้และนักเทคนิคและสร้างภาพจำลองการใช้งานของ ILO   มีการใช้แบบประเมินเชิง subjective (มีความคิดเห็นส่วนตัวเข้าเกี่ยวข้อง) ซึ่งหนึ่งในสามระบบสุดท้าย เป็นซอฟท์แวร์ของ UN   ชุดทำงานประเมินระบบทั้งสามเป็นครั้งสุดท้ายและตัดสินใจเลือกซอฟท์แวร์ที่ UN ใช้ ซึ่งซอฟท์แวร์นี้ก่อปัญหาแก่ ILOเพราะแทนที่จะทำซอฟท์แวร์ให้เหมาะสมกับองค์การ กลับต้องปรับองค์การให้เข้ากับซอฟท์แวร์ แต่ ILO ก็ทำงานอย่างใกล้ชิดกับระบบของ UN ทำให้ระบบเก็บบันทึกน่าจะเข้ากันได้ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดจะสามารถสร้างความสอดคล้อง ระหว่างระยะเวลาการจ่ายเงินกับโครงสร้างองค์การ สรุปแล้ว ILO ใช้เวลาประมาณ ๒ ปี เพื่อเลือกซอฟท์แวร์นับแต่วันที่จัดตั้งชุดทำงาน และกว่าจะใช้ระบบอย่างเต็มที่ก็ต้องใช้เวลา ๒ ถึง ๓ ปี
๒. กรณี Nestle, SA
Nestle, SA มีสาขาหลายประเทศ ที่สำนักงานใหญ่ใน Vevey สวิทเซอร์แลนด์  Nestle, SA ได้ใช้ HRIS ติดตามข้อมูลการย้ายระหว่างประเทศของพนักงาน โดยมีแผนกหนึ่งในฝ่ายทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่ประสานงานการย้ายพนักงานทุกคนจากฝ่ายหนึ่งไปอีกฝ่ายหนึ่ง โดยดำเนินการในทุกเรื่องที่จำเป็นเพื่ออำนวยต่อการย้ายพนักงานไปอีกประเทศหนึ่ง รวมทั้งการขายบ้านและรถของพนักงาน การหาที่พักที่ตำแหน่งใหม่ ประสานงานการฝึกอบรมครอบครัวสำหรับการย้ายครั้งแรก และจัดการตรวจทางการแพทย์ก่อนเดินทาง (Ranieri ๑๙๙๓ : ๑๖)
เนื่องจาก Nestle มีพนักงานทั่วโลก จึงต้องมี HRIS จัดเก็บบันทึกข้อมูลพนักงานที่ย้ายทุกคน   เพื่อติดตามข้อมูลการย้ายระหว่างประเทศ เช่น ชื่อพนักงาน ที่อยู่ ผู้ติดตาม (Dependent) ประวัติเงินเดือน ประสบการณ์การทำงาน การศึกษา การฝึกอบรม และความสามารถในการเจรจา (Diplomas)   ทั้งนี้ ผู้บริหารระดับสูง ฝ่ายฝึกอบรม และฝ่ายทรัพยากรมนุษย์เท่านั้นที่จะเข้าถึงระบบ โดยผู้บริหารจะใช้ HRIS เพื่อหาว่าผู้ที่มีทักษะเฉพาะไปบรรจุในตำแหน่งว่าง   ฝ่ายฝึกอบรมใช้ในการพิจารณาแผนการฝึกในอนาคต ซึ่งฐานข้อมูลที่ละเอียดทำให้งานทรัพยากรมนุษย์ของ Nestle ทำให้สารสนเทศสมบูรณ์ พร้อมต่อการเข้าถึง   และมีทุก ๆ ข้อมูล (ในการย้ายข้ามประเทศ) โดยทันที
๓. สำนักงาน ก.พ. (http://www.ocsc.go.th/DPIS)
สำนักงาน ก.พ. พัฒนาโปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม (DPIS: Departmental Personnel Information System) เพื่อเป็นเครื่องช่วยในการบริหารจัดการข้าราชการ และลูกจ้างประจำระดับกรม สนับสนุนการปฏิบัติงานประจำวันของกรมที่เกี่ยวกับงานการเจ้าหน้าที่และการจ่ายเงินเดือน เพื่อให้ส่วนราชการมีระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่ใช้เป็นฐานในการวางแผนและการบริหารทรัพยากรบุคคลของส่วนราชการและเพื่อสร้างระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลที่มีมาตรฐาน และสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงาน
ระบบเริ่มพัฒนาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๑ จนได้เป็นระบบ DPIS Version .๘ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒   ต่อมา พ.ศ. ๒๕๔๔ สำนักงาน ก.พ. โดยความร่วมมือระหว่างสำนักบริหารกลาง และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้ร่วมกันวิเคราะห์ออกแบบ DPIS Version ๓ และพัฒนาระบบจนแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๕๔๖ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โปรแกรมระบบสารสนเทศทรัพยากรบุคคลระดับกรม” เริ่มเผยแพร่โดยการจัดฝึกอบรมให้ส่วนราชการ พ.ศ. ๒๕๔๗ ต่อมาเมื่อ ๒ มีนาคม ๒๕๔๗ คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกับระบบ DPIS Version .๐ ที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ และให้นำไปปรับใช้ในทุกส่วนราชการ สำหรับคุณสมบัติของระบบเป็นระบบที่สามารถใช้ได้ทั้งในลักษณะ Standalone หรือระบบเครือข่าย (Network) และสามารถใช้งานร่วมกับโปรแกรมระบบฐานข้อมูลสัมพันธ์ (RDBMS) ซึ่งข้อมูลที่จัดเก็บและรายงานในระบบ DPIS เป็นไปตามตารางที่ ๒.๗ 
๓. การดำเนินการของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
                                ก.    หน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ (U.S. Army Human Resource Command) (https://www.hrm.army.mil)
เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารในปัจจุบัน กองทัพบกสหรัฐอเมริกาได้ตั้งหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ (U.S. Army Human Resource Command) เมื่อ ๒ ตุลาคม ๒๕๔๖ โดยรวมหน่วยบัญชาการกำลังพลกองทัพบก (U.S. Total Army Personnel Command) และหน่วยบัญชาการกำลังพลสำรอง (U.S. Army Reserve personnel Command) เข้าด้วยกัน เพื่อลดส่วนบัญชาการให้กะทัดรัด ทำให้ฝ่ายเสนาธิการมีความรวดเร็วและรับผิดชอบยิ่งขึ้น ลดลำดับชั้นการตรวจสอบและอนุมัติ มุ่งที่ภารกิจและปรับปรุงกองทัพบก โดยการดำเนินการของหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ เป็นขั้นแรกในการพัฒนาการกำลังพลของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
                                        ในอดีตซึ่งปฏิบัติงานใต้ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล ซึ่งเป็นฝ่ายเสนาธิการด้านกำลังพลของกองทัพบก   หน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ (HRC) เป็นศูนย์กลางการริเริ่มของกองทัพบกในการบูรณาการงานกำลังพลเข้ากับโครงสร้างขององค์การ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารกำลังพลประจำการและสำรองทั่วโลก   หน่วยนี้ได้บูรณาการและประสานระบบกำลังพลทางทหาร เพื่อพัฒนาและใช้ทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพบกอย่างสูงสุดในยามปกติและสงคราม ปฏิบัติงานบริหารกำลังพลในการปรับเกลี่ยกำลัง พัฒนา รักษาและเปลี่ยนสภาพทหารประจำการ ระดมกำลังสำรองและผู้ที่ยืดเวลาประจำการ การประจำการชั่วคราว และการเรียกผู้ลาออกกลับเข้าประจำการ
                                        หน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ (HRC) มีกองบัญชาการอยู่ที่อเล็กซานเดรีย VA   มีหน้าที่เก็บรักษาบันทึกแฟ้มกำลังพล (Official Military Personnel Files: OMPF) ของนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และมีหน่วยแยกที่เซนต์หลุยส์ MOมีหน้าที่รับ เก็บ บำรุงรักษา ให้ยืม และส่งบันทึกแฟ้มกำลังพล (OMPF) ของกำลังสำรอง รวมทั้งแฟ้มประวัติ บันทึกการแพทย์/ทันตแพทย์ บันทึกกระโดดร่ม บันทึกการเงิน และบันทึกการบินของกำลังสำรองพร้อมรบ ศูนย์บันทึกและประเมินนายทหารประทวนอยู่ที่อินเดียนาโปลิส IN   ทั้งนี้ จะได้มีการรวมหน่วยงานทรัพยากรมนุษย์พลเรือนเข้ากับ หน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ (HRC) ภายในปีงบประมาณ ๒๕๔๘
                                ข. กรมระบบสารสนเทศกำลังพล (Personnel Information Systems Directorate: PERSINSD)(https://www.perscomonline.army.mil) สังกัดหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ทำให้ภาครัฐและเอกชนต้องใช้ประโยชน์ของพานิชอิเล็กทรอนิกส์ รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ และระบบเครือข่ายเพื่อลดต้นทุนดำเนินการ กองทัพบกสหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนวิธีการบริหารและใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดำเนินกิจการของกองทัพบก   โดยได้ร่างแผนยุทธศาสตร์บริหารองค์ความรู้ของกองทัพบก เพื่อให้ได้มาซึ่งอาณาจักรแบบรวมศูนย์บนพื้นฐานแห่งองค์ความรู้ที่มีการแบ่งปันความรู้ในกระบวนการประจำวันและการปฏิบัติการของกองทัพบก ซึ่งหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ สนองตอบแนวความคิด การบริหารองค์ความรู้อย่างเต็มที่ สนับสนุนงานทรัพยากรมนุษย์ต่อลูกค้าทุกคนได้แก่ ทหารแต่ละคน ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอำนวยการ กองกำลังป้องกันชาติ หรือกำลังสำรอง
๑) ภารกิจของกรมระบบสารสนเทศกำลังพล คือ ทำให้แนวความคิด การบริหารองค์ความรู้ เป็นจริง โดยการผสมผสานเทคโนโลยีและอินเตอร์เน็ตอย่างสูงสุด    กรมระบบสารสนเทศกำลังพล รับผิดชอบในการสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการบริหารยุทธศาสตร์ของหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ (HRC)   โดยกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านกำลังพลของกองทัพบก คือ “สร้างระบบทรัพยากรมนุษย์ของกองทัพบกที่หลากหลายองค์ประกอบซึ่งง่าย ถูกต้อง และเข้าถึงได้
๒) การจัด กรมระบบสารสนเทศกำลังพล ประกอบด้วย กองบูรณาการกองทัพบก (Army Integration Division), กองระบบทางทหาร (Military Systems Division) และ กองบริการสารสนเทศ (Information Services Division)
ค. ระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS: Personnel Electronic Record Management System) เป็นระบบเก็บข้อมูลกำลังพลทางทหารด้วยคอมพิวเตอร์ที่ปลอดภัย ถาวร สามารถเข้าถึงได้รวดเร็ว และเชื่อถือได้
๑) ภารกิจ ระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS) เป็นระบบจัดการเอกสารอัตโนมัติเพื่อบำรุงรักษาแฟ้มกำลังพล (OMPF: Official Military Personnel File) ของทหารประจำการและกำลังสำรอง
        ระบบนี้ เป็นการสนับสนุนภารกิจการบริหารการบันทึกข้อมูลกำลังพลของกองทัพบกในยามสงคราม การระดมพล และยามปกติ ตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกาที่เกี่ยวกับ กำลังทหารและการบริหารการบันทึกข้อมูลโดยหน่วยงานกลาง นอกจากนี้ยังมีระบบเก็บและเรียกใช้เอกสารระบบข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (DSRD: Document Storage and Retrieval System) ที่ใช้ระบบภาพดิจิตอล (ODI: Optical Digital Imagery) รายละเอียดสูงเพื่อจับภาพ บันทึก เรียกใช้ ส่ง และเก็บรักษาบันทึกข้อมูลกำลังพลของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา ซึ่งจะให้การเข้าถึงออนไลน์และการแสดงภาพบันทึกข้อมูลบนจอภาพ รวมทั้งการพิมพ์เอกสารจากส่วนกลางและเฉพาะพื้นที่ เป็นกระดาษสำเนาและ/หรือฟิล์มขนาดเล็กบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ (COM: Computer Output Microfiche)
        ระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS) ช่วยเสริมคุณภาพการบันทึกข้อมูล เสริมความสามารถในการเก็บบันทึกและเรียกใช้ให้สูงสุด ลดต้นทุนการปฏิบัติการ สนับสนุนคณะกรรมการปรับย้ายแต่งตั้ง และสนับสนุนข้อมูลที่ไม่ใช่เชิงปริมาณที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้าง เก็บ ปรับให้ทันสมัย ดึงข้อมูล และแจกจ่ายแฟ้มกำลังพลทางทหาร (OMPF: Official Military personnel files) แบบอิเล็กทรอนิกส์
        Program  Office,  Personnel  Systems Integration  Division  (PERSINSD), U.S. Army Human Resources Command (HRC) รับผิดชอบการบริหารโครงการระบบบริหารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านกำลังพล (PERMS)   ซึ่งสนับสนุนงานบริหารและดำเนินการกำลังพลต่าง ๆ ในกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
๒) งานของระบบบริหารข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านกำลังพล (PERMS)
        ก) ปรับปรุง และดำรงรักษาโครงสร้างพื้นฐานระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS)
        ข) ให้การสำรอง/กู้คืนข้อมูลที่เสียหาย
        ค) สนับสนุนการรับ/ส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์
        ง) เสริมความปลอดภัยของระบบ
        จ) ขยายประชาคมกำลังพลเข้าสู่ระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS)
        ฉ) อำนวยต่อการเข้าถึงของหน่วยงานภายนอก
        ช) ออกแบบระบบย่อยนำเข้าข้อมูล COTS
        ซ) ปฏิบัติระบบคณะกรรมการคัดเลือกอัตโนมัติ
        ด) เสริมความสามารถในการสื่อสารจากที่ตั้งหนึ่งสู่อีกที่ตั้งหนึ่ง
๓) คณะกรรมการควบคุมรูปแบบระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS CCB: PERMS Configuration Control Board) วัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาจุดมุ่งหมาย ทิศทาง เป้าหมาย และรูปแบบของระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS) รวมทั้งเฝ้าติดตามประสิทธิผลของระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS) ประเมิน จัดความเร่งด่วน และอนุมัติการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทุกประการทางเทคนิคและงานของระบบ และประกันว่าการเปลี่ยนแปลงที่ใช้ได้จัดทำไว้ในเอกสารระบบบริหารข้อมูลกำลังพลอิเล็กทรอนิกส์ (PERMS)
๔) ความเร่งด่วนในการดำเนินการของคณะกรรมการ
        ก)    แฟ้มกำลังพลออนไลน์ เป็นแฟ้มประวัติของทหารกองทัพบกสหรัฐอเมริกา เชื่อมโยงผ่านระบบเครือข่าย     ระหว่างกองบัญชาการหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์  (HRC) ที่ อเล็กซานเดรีย ซึ่งเก็บรักษาบันทึกแฟ้มกำลังพล (Official Military Personnel Files: OMPF) ของนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และหน่วยแยกที่เซนต์หลุยส์ที่เก็บรักษาแฟ้มประวัติของกำลังสำรอง รวมทั้งแฟ้มประวัติ บันทึกการแพทย์/ทันตแพทย์ บันทึกกระโดดร่ม บันทึกการเงิน และบันทึกการบินของกำลังสำรองพร้อมรบ รวมทั้งศูนย์บันทึกและประเมินนายทหารประทวนที่อินเดียนาโปลิส กับหน่วยต่าง ๆ ของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา
        ข)    การบันทึกประวัติกำลังพลกองทัพบกสหรัฐอเมริกาเป็นรายบุคคลเข้าแฟ้มกำลังพลเป็นส่วนรวมของนายทหารสัญญาบัตร และนายทหารประทวน ทั้งทหารประจำการและกำลังสำรอง
        ค)    ระบบคณะกรรมการคัดเลือกอัตโนมัติของกองทัพบก (Automated Army Selection Board System: SBS)      สนับสนุนข้อมูลกำลังพล แก่คณะกรรมการแต่งตั้งนายทหารสัญญาบัตรของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา โดยจัดทำเป็นระบบอัตโนมัติในการจัดเรียงลำดับอาวุโสทางทหาร จำนวนปีที่ครองยศปัจจุบัน คุณวุฒิการศึกษา รวมทั้งคุณสมบัติต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการแต่งตั้งให้ได้รับการเลื่อนยศตำแหน่งสูงขึ้นของคณะกรรมการดังกล่าว
        ง)    การสำรองข้อมูล/ความต่อเนื่องของแผนปฏิบัติการ (Continuity of Operations Plan: COOP) ดำเนินการเก็บสำรองข้อมูล ในกรณีที่ศูนย์ข้อมูลกลางที่ใดที่หนึ่งเสียหาย จะสามารถปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง
        จ)    การเข้าถึงแฟ้มกำลังพลทางอินเตอร์เน็ต/อินทราเน็ต ดำเนินการเพื่อให้หน่วยต่าง ๆ และกำลังพลของกองทัพบกสหรัฐอเมริกา สามารถเข้าถึงแฟ้มข้อมูลกำลังพลได้ทั้งทางอินเตอร์เน็ตและอินทราเน็ต โดยไม่จำกัดว่าต้องใช้ระบบเครือข่ายของกองทัพเท่านั้น แต่กำลังพลที่ขอใช้จะต้องขอรับพาสเวิร์ดและชื่อผู้ใช้ จากศูนย์ดำเนินการกลางของหน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์ เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกเข้าถึงข้อมูลและเพื่อความเป็นส่วนตัวของข้อมูลของตน ซึ่งในส่วนของกำลังพลเป็นรายบุคคลจะสามารถตรวจสอบข้อมูลของตนจากที่ใด ๆ ได้และสามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลได้โดยง่าย
        ฉ)   การส่งข้อมูลจากที่ตั้งหนึ่งไปยังอีกที่ตั้งหนึ่ง เป็นการดำเนินการส่งข้อมูลด้านกำลังพลไปยังที่ตั้งต่าง ๆ ในกรณีที่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยอัตโนมัติ
ง. ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A: Personnel Enterprise System – Automation) เป็นโครงการจัดหา ออกแบบ ใช้ และดำรงรักษาการประมวลผลอัตโนมัติ (Automated Data Processing: ADP) ที่จะประกันถึงการมีระบบโครงสร้างพื้นฐานอัตโนมัติ (องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ในการฝึกอบรมอัตโนมัติ การบริการ การติดต่อสื่อสาร ผลผลิต และเครื่องมืออัตโนมัติ) ที่สุดยอด ทันสมัย และเพียงพอเพื่อสนับสนุนกำลังพลรบ PES-A สนับสนุนงานกำลังพลในทุกงาน รวมทั้ง การสรรหาและคัดเลือก และเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารการปฏิบัติประจำวันในกองทัพ (เช่น การรายงานยอดกำลังพล การบริหารกำลังพล การบรรจุตำแหน่ง การบริหารแนวทางรับราชการ การฝึก การสรรหาและคัดเลือก การเรียกกลับเข้าประจำการ และการระดมพล)
                                ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) ให้ความสามารถในการปฏิบัติงานระหว่างกันของหน่วยกรรมวิธีข้อมูลที่สำคัญของประชาคมหน่วยงานกำลังพลของกองทัพ เช่น หน่วยบัญชาการทรัพยากรมนุษย์กองทัพบกสหรัฐอเมริกา ที่อเล็กซานเดรีย เซนต์หลุยส์ หน่วยบัญชาการเกณฑ์พล ศูนย์กำลังพลกองกำลังป้องกันชาติสหรัฐอเมริกา และหน่วยบัญชาการกรรมวิธีการเข้าเป็นทหาร หน่วยบัญชาการร่วมซึ่งกองทัพบกเป็นหน่วยงานบริหาร ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) เป็นหลักสำคัญของสถาปัตยกรรมการกำลังพลอัตโนมัติของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๓๐ และมีขีดความสามารถและความยืดหยุ่นอ่อนตัวที่จะสนับสนุนระบบที่เกิดขึ้นในรอบพันปีหน้า ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์เครือข่ายกองทัพบกโดยสนับสนุนความทันสมัยขององค์ประกอบโครงสร้างอำนาจ ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) สามารถสนับสนุนและเข้าได้กับการริเริ่มการส่งถ่ายข้อมูลกำลังพลและการริเริ่มการบริหารสารสนเทศองค์การ/ยุทธศาสตร์เครือข่ายของกระทรวงกลาโหม
                                ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) เป็นโครงการบูรณาการเครือข่ายที่กว้างขวางซึ่งบริหารทรัพยากร จัดหา และดำรงรักษาความมีประสิทธิภาพสูงสุดของระบบโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเครือข่ายกำลังพลทั้งประจำการ สำรอง และกองกำลังป้องกันชาติ
        ภารกิจ ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) ให้โครงสร้างพื้นฐานทางภูมิเทคนิคที่สนับสนุนภารกิจการบรรจุกำลังพลทางทหารของกองทัพบกในยามปกติ การระดมพลและการปลดพล ภัยพิบัติจากธรรมชาติ ยามสงคราม และภารกิจด้านกำลังพลที่กองทัพบก หน่วยกำลังทางบกกองกำลังป้องกันชาติ และหน่วยกำลังสำรองต้องเผชิญ ระบบเครือข่ายกำลังพลอัตโนมัติ (PES-A) เป็นเครื่องมือบริหารกำลังพลและให้สารสนเทศแก่กระทรวงกลาโหม และรัฐสภาในที่สุด
    จ. ระบบ Keystone   สนับสนุนผู้ปฏิบัติมากกว่า ๒,๕๐๐ คน ณ ที่ตั้งต่าง ๆ ๕๐๐ แห่งทั่วโลก เป็นการขยายขีดความสามารถของคอมพิวเตอร์และการใช้ซอฟท์แวร์ให้สูงสุดเพื่อสนับสนุนโครงการต่าง ๆ จำนวนมากที่เพิ่มขึ้นในเครือข่ายย่อย ซึ่งจะสนับสนุนคณะทำงานริเริ่มของทบวงกองทัพบก การสร้างจุดขายของหน่วยบัญชาการรับสมัครทหารอาสาสมัคร และการออกคำสั่งแต่งตั้งของกองจัดการกำลังพลชั้นประทวน โดยระบบนี้จะให้การเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลกลางออนไลน์ตามเวลาจริงผ่านเครื่องลูกข่าย และ/หรือผู้ใช้ที่เข้าทางเครือข่าย
        ภารกิจของระบบนี้คือสนับสนุนความต้องการของกองบัญชาการ ทบวงกองทัพบก สำนักงานผู้ช่วยเสนาธิการทหารบกฝ่ายกำลังพล เพื่อจัดกำลังพลให้แก่กองทัพบกในยามสงคราม  ยามปกติ และระหว่างการเปลี่ยนผ่านจากยามปกติจนถึงการระดมกำลังเต็มที่    ระบบนี้จะให้การสนับสนุนการเข้าเป็นทหารอาสาสมัครในขั้นแรกในกองทัพบก กำลังสำรอง และกองกำลังป้องกันชาติ การเปลี่ยนสภาพจากทหารประจำการเป็นกำลังสำรอง และการแบ่งประเภทนายทหารประทวนประจำการและกระบวนการปรับย้าย/ปรับเกลี่ย
    ฉ. ฐานข้อมูลกำลังพลแบบบูรณาการ (ITAPDB: Integrated Total Army Personnel Database)
                                ฐานข้อมูลกำลังพลแบบบูรณาการ (ITAPDB) รับผิดชอบออกแบบ พัฒนา และบำรุงรักษาระบบซอฟท์แวร์ประยุกต์และฐานข้อมูลกำลังพลกองทัพบก (TAPDB: Total Army Personnel Database)
ภารกิจ ฐานข้อมูลกำลังพลแบบบูรณาการจะระบุถึงความจำเป็นในการพัฒนางานบริหารกำลังและการระดมพลกองทัพบกปัจจุบันในประชาคมกำลังพลกองทัพบก (คือ ทหาร พลเรือน และผู้รับเหมาซึ่งจะ แสดงการพัฒนางานที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบกำลังพลของกระทรวงกลาโหมในอนาคต



Free Image Hosting @ Photobucket.com!